บทความ

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่16

วันอังคารที่18 เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2557



การเรียน การสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้/ กิจกรรม ประจำสัปดาห์

-  สัปดาห์ไม่มีการเรียนการสอน
        แต่อาจารย์แจกข้อสอบกลางภาค และให้นักศึกษาส่งวันที่ 27-28 เดือนกุมภาพันธ์ 2556 อาจารย์สร้างข้อตกลงให้นักศึกษา ต้องค้นคว้าหาจากงานวิจัยได้ บทความได้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน

คำชี้แจง : ข้อสอบปลายภาควิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เป็นแบบอัตนัยจำนวน3ข้อ15คะแนน

ข้อสอบมีดังนี้
1. ให้นักศึกษาเขียนแผนผังความคิดสรุปความรู้ที่ตนเองได้รับจากวิชา EAED2209การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ(7คะแนน)
2.  ยกตัวอย่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษมา1ประเภท โดยอธิบายตามหัวข้อดังนี้ (5คะแนน)
         - ลักษณะอาการ
         - บทบาทของครู
         - การดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการ
3.  ให้นักศึกษาบรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรายวิชา EAED2209การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ(3คะแนน)



ความรู้เพิ่มเติมVDO


การทำงานกับนักเรียนดาวน์ซินโดรม
         นี่คือโรงเรียนสตรีเพลเซดตั้งอยู่ที่อีสต์เอนต์ กรุงลอนดอนโรงเรียนนี้มีระดับโรงเรียนนี้มีชื่อเสียงในท้องที่ โรงเรียนนี้รับนักเรียนทุกระดับความสามารถในจำนวนนี้รวมถึง เด็กในกลุ่มอาการดาวน์ เป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือ ความแตกต่างที่พบบ่อย ปัญหาหลักคือ การพูดและภาษากล้ามเนื้ออ่อนแรง ปากเล็กกว่าปกติมีปัญหาเรื่องการพูด และความสามารถในการทำความเข้าใจก็มีความจำกัด การเรียนร่วมในโรงเรียนปกติเป็นประโยชน์กับเด็กในกลุ่มอาการดาวน์ เราทำงานในขอบเขตปํญหาของเด็กแต่ล่ะคน หลักการ คือให้เด็กอยู่ในห้องแต่บ้างเวลาเด็กก็ต้องการความช่วยเหลือพิเศษนั้นเป็นเรื่องที่เราต้องเอาใจใส่
    วิทยาศาสตร์ การทดลองซึ่งเป็นกลุ่มคละความสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในห้องเสมอ นักเรียนห้องนี้ต้องการความช่วยเหลือแตกต่างกัน อีกหลายคนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษที่ซับซ้อนความช่วยเหลืออีก 1 คน มีผู้ช่วย 2 คนคอยดูแลในห้องเรียน
   คณิตศาสตร์ แบบตัวต่อตัวกับผู้ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเรื่องในการจำตัวเลขและความสัมพันธ์จากเลข ทำได้ดีเมื่อใช้รูปภาพหรือวัตถุต่างๆเข้าช่วย
   ด้านการอ่าน เ ราช่วยเด็กฝึกอ่านโดยใช้ดูภาพได้สัมผัสให้ดูภาพเยอะๆ
 ชั่วโมงภาษามือ เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษเป็นระบบภาษาอังกฤษที่ใช้ภาษามือเสริม เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้ศัพท์มากขึ้น เราใช้ภาษามือกับเด็กบางคนที่มีปัญหาด้านการสื่อสารวิธีนี้ได้ผลมาก สำหรับช่วยเด็กนำคำศัพท์ต่างๆมาใช้ประโยชน์ ฉันใช้วิธีนี้มาหลายปีแล้ว บางครั้งเด็กส่ามารถจำคำศัพท์ได้เพราะพวกเขาเรียนรู้คำนั้นโดยการทำมือสอนเป็นกลุ่มเล็ก เพื่อสอนคำศัพท์ใหม่ความคิดสร้างสรรค์และการลำดับเรื่องราว การจัดกลุ่มขนาดเล็กช่วยให้เด็กรู้สึกสบายใจที่จะถกเถียงกับเรื่องความคิดใหม่ๆ
 ชั่วโมงทักษะการดำรงชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียน เพื่อการทำงานในอนาคตในชั่วโมงนี้เราจะมุ่งเตรียมพร้อมให้รู้จักใช้ชีวิตและต้องพึ่งตัวเองมากขึ้นเมื่ออยู่ที่บ้าน เมื่ออยู่ในสังคมและที่ทำงาน คิดว่าการเรียนร่วมได้ผลดีมาก มีความสุขมากและคนอื่นๆก็มีความสุข ละการปฏิสัมพันธ์กับเคนอื่น

     จัดหาทรัพยากรเพิ่มเติม เราต้องจัดทุนทรัพย์เพื่อหาผู้ช่วยเพิ่มเติมให้เธอ ผู้ช่วยไม่ใช่คนเดิมเสมอไปแต่การที่เราจัดการเช่นนี้ได้เป็นการช่วยเธอได้มาก ต้องการความช่วยเหลือเราจัดการประชุมประจำปีเพื่อพิจารณาทุกด้านของชีวิต ตั้งแต่ทางการแพทย์ การพูดและภาษาเราจะคุยกันถึงทุกๆวิชาเพื่อจะได้แน่นใจว่าอมีนามีพัฒนาการที่ดีอย่างที่เราอยากให้เป็น แม้ต้องใช้เวลาและ แต่เราได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่ามากกว่าความลำบากนั้นมาก เราช่วยสร้างสังคมแบบร่วมผลลัพธ์จากแนวคิดเด็กทุกคนมีความสำคัญมีหลายประเด็นสำคัญที่เราไม่สามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ เมื่ออยู่ในโรงเรียนมีส่วนร่วมในสังคมส่วนรวมมากเท่าไรและเด็กพร้อมมากน้อยแค่ไหน ในการดำรงชีวิต

อ้างอิงจาก   โทรทัศน์ครู 

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่15

วันอังคารที่11 เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2557



การเรียน การสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้/ กิจกรรม ประจำสัปดาห์


-   เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ ( LD )

       การดูแลให้ความช่วยเหลือ
-         สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
-         มองเห็นจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ
-         ให้การเสริมแรงทางบวก
-         รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
-         วางแผนการทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
-         สังเกตติดตามความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก
-         LEP
การรักษาด้วยยา
-         Ritalin
-         Dexedrine
-         Cylert
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-         สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ)
-         โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
-         ศูนย์การศึกษาพิเศษ ( Early Intervention : EI )
-         โรงเรียนเฉพาะความพิการ
-         สถาบันราชานุกูล


 สิ่งที่ต้องศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม

*** อาจารย์ให้นักศึกษา ดูวีดีโอ เรื่องเรียนอย่างไรในศูนย์การศึกษาพิเศษ






วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่14

วันอังคารที่4 เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2557



การเรียน การสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้/ กิจกรรม ประจำสัปดาห์

การดูและรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

   - Down's syndrome ดาวน์ซินโดรม 
     : รักษาตามอาการ
     : แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
     : ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
     : เน้นการดูแลแบบองค์รวม (holistic approach)

1. ด้านสุขภาพ
    บิดามารดารให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะ

2. การส่งเสริมพัฒนาการ
    เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม

3. การดำรงชีวิตประจำวัน
    ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ

-          การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
-          การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP )
-          การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
-           การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง3เดือนแรก
     การปฏิบัติของบิดา มารดา
-           ยอมรับความจริง
-           เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
-           ให้ความรักและความอบอุ่น
-            การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลุกและเต้านม
-            การคุมกำเนิดและการทำหมัน
-            การสอนเพศศึกษา
-           -ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสรทพัฒนาการ
-           พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์และภาษา
-           สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
-           สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
-           ลดปัญหาพฤติกรรม
-           คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

Autistic
      ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
-          -  ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
 

ส่งเสริมความสามารถเด็ก
-           การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
-           ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
-           เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-           การให้แรงเสริม

การฝึกพูด
-           โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-           ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
-           ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
-           ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารสื่อสารความต้องการได้
-           การสื่อสารความหมายทดแทน (AAC)
การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative C0mmunication: AAC)
-           การรับรู้ผ่านการมอง(Visual Strategies)
-           โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อสื่อสาร(Picture Exchange Communication System;pecs)
-           เครื่องโอภา(Communication Devices)
-           โปรแกรมปราศรัย
การส่งเสริมพัฒนาการ
-           ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-            เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตาการมีสมาธิ การฟังและทำตามคำสั่ง
-           ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-           เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-           แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-           โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-          ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกฝนทักษะสังคม
-          ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
    การรักษาด้วยยา
-           Methylphenidate (Ritalin)ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
-           Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่งหงุดหงิด หุนหันลันแล่น พฤติกรรมซ้ำๆพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
-           ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง

 การบำบัดทางเลือก
-            การสื่อความหมายทดแทน(AAC)
-           ศิลปกรรมบำบัด(Art Therapy)
-           ดนตรีบำบัด(Music Therapy)
-           การฝังเข็ม(Acupuncture)
-           การบำบัดด้วยสัตว์(Animal Therapy)
 พ่อแม่
-           ลูกต้องพัฒนาได้
-           เรารักลูกของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-            ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก
-           หยุดไม่ได้
-           ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข็มแข็ง
-           ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-            ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว


สิ่งที่ต้องศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม

 ****อาจารย์ สรุปวีดีโอ เรื่อง กิจมกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้น







วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 13

วันอังคารที่28 เดือนมกราคม พ.ศ.2557



การเรียน การสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้/ กิจกรรม ประจำสัปดาห์






สิ่งที่ต้องศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม


- อ่านเอกสารเพิ่มเติม จากการสอบในวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ